Loading...

การหาค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของแสงดาวเนื่องจากชั้นบรรยากาศโลก ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา

วิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2566)
การเผยแพร่
คำสำคัญ
สัมประสิทธิ์การลดลงของแสงดาว, โลกร้อน, การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
ผู้วิจัย
พศุตม์ สังฆพัฒน์
สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาทิตยา จิตรเจริญ
สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ธนวัฒน์ รังสูงเนิน
โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สมานชาญ จันทร์เอี่ยม
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บุญญฤทธิ์ ชุนหกิจ
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ได้ดาเนินการศึกษาสังเกตการณ์โฟโตเมตรีของดาวมาตรฐาน 3 ดวงเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ การลดลงของแสงดาวเนื่องจากชั้นบรรยากาศโลก ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา เนื่องจากในปัจจุบันผลกระทบจากโลกร้อนและสภาวะอากาศมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ซึ่งส่งผลต่อการทาวิจัยทางด้านดาราศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์เชิงแสง คณะผู้วิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.15 เมตร เชื่อมต่อกับระบบซีซีดีโฟโตเมตรีผ่านแผ่นกรองแสง ความยาวคลื่นสีน้าเงิน (B) สีเหลือง (V) และสีแดง (R) ทาการศึกษาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของแสงดาวเนื่องจากชั้นบรรยากาศโลกที่ถ่ายด้วย แผ่นกรองแสงความยาวคลื่นสีน้าเงิน สีเหลืองและสีแดง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.929700.01109, 0.62643 0.13606 และ 0.515140.13085 magnitude/airmass ตามลาดับ สรุปได้ว่า สภาวะอากาศ ณ บริเวณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นช่วงเวลาที่มีค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของแสงดาวเนื่องจากชั้นบรรยากาศโลก สูงกว่าค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยขอเสนอว่าควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลการลดลงของแสงดาว อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเลือกช่วงเวลาในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า การทาวิจัยทางด้าน ดาราศาสตร์เชิงแสง

References

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2566). คุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ปี 2565. สืบค้นจาก https://air4thai.pcd.go.th/webV2/

โชติ เนืองนันท์. (2541). การวิเคราะห์การลดลงของแสงดาวเนื่องจากบรรยากาศของโลก โดยเทคนิค ซี ซี ดี โฟโตเมตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดลฤดี สุขใจ, ถิรนันท์ สอนแก้ว, นิพนธ์ นายหว่าง, ธนกิจ ใจพะยัก, กัญญ์วรา พานประทีป, สุพรรษา กาไชยา, ณัฐกานต์ จันทร์ทิพย์, สมสวัสดิ์ รัตนสูรย์ และRonald Macatangay. (2564). องค์ประกอบของค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของแสงดาวเนื่องจากผลของบรรยากาศของโลก ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร. วารสารวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ, 4(1): 70-81.

สุวนิตย์ วุฒสังข์. (2558). การศึกษาคุณภาพท้องฟ้าเวลากลางคืน ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครั้งที่ 6 “การศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”. (น. 867-871). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Haslebacher, C., Demory, M. E., Demory, B. O., Sarazin, M. and Vidale, P. L. (2022). Impact of climate change on site characteristics of eight major astronomical observatories using high-resolution global climate projections until 2050 Projected increase in temperature and humidity leads to poorer astronomical observing conditions. Astronomy and Astrophysics Journal, 665: 1-53.

Hu, B. (2010). Preliminary Results of Atmospheric Station. Chinese Astronomy and Astrophysics, 35: 199-208.

Stalin, C. S., Hegde, M., Sahu, D. K., Parihar, P. S., Anupama, G. C., Bhatt, B. C. and PrabhuStalin, T. P. (2008). Night Sky at the Indian Astronomical Observatory During 2000-2008. Bulletin of the Astronomical Society of India, 36(2): 111-127.