Loading...

คําแนะนําการจัดทำบทความ

word pdf

ลักษณะของวารสาร

          วารสารวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ (Journal of Earth Science, Astronomy and Space) สมาคมดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศเพื่อการศึกษา (Astronomy and Space Science Society for Education; ATSSE) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความทางด้านวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จากผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ บทความทางวิชาการ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และความรู้ทางวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวความคิดทางวิชาการ มีการพิจารณาบทความแบบ double blinded โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน และมีกําหนดออกเผยแพร่ ปีละ 1 ฉบับ (ตุลาคม – ธันวาคม) ทั้งนี้กลุ่มสาขาย่อยที่วารสารพิจารณาเผยแพร่ มีดังนี้
          1. General Earth and Planetary Sciences
          2. Atmospheric
          3. Space and Planetary Science
          4. Renewable Energy, Sustainability and the Environment
          5. General Physics and Astronomy

ข้อแนะนําทั่วไป

          1. เรื่องที่รับพิมพ์ในวารสารวิจัยนี้ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงานหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
          2. เนื้อหา บทความ หรือข้อคิดเห็นที่พิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ได้คัดลอก หรือตัดทอนมาจากผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
          3. ต้นฉบับสามารถจัดทำได้ทั้งภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ แต่ในส่วนของบทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
          4. ต้นฉบับจะต้องได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับบทความโดยตรงก่อนการตีพิมพ์

ประเภทของผลงานที่จะรับตีพิมพ์

          1. บทความวิจัย (Research Articles)
          2. บทความวิชาการ (Academic Articles)
          3. บทความปริทัศน์ (Review Article)
          4. บทความรับใช้สังคม (Socially-Engaged Articles)
          5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to Editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้ง ความเห็นของนักวิจัยอื่น ๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ

รูปแบบการเตรียมต้นฉบับ

          1. ต้นฉบับ เป็นต้นฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ บนกระดาษขาว ขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun จัดเป็น 1 คอลัมน์ ความยาวของเนื้อหา รวมภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง 6- 12 หน้า
          2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ
                    • ระยะขอบบน (Top margin) ขนาด 1” หรือ 2.54 เซนติเมตร
                    • ระยะขอบล่าง (Bottom margin) ขนาด 1” หรือ 2.54 เซนติเมตร
                    • ระยะขอบซ้าย (Left margin) ขนาด 1.5” หรือ 2.54 เซนติเมตร
                    • ระยะขอบขวา (Right margin) ขนาด 1" หรือ 2.54 เซนติเมตร
          3. ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 18 พอยต์ ชนิดตัวหนา ตําแหน่ง กึ่งกลางหน้ากระดาษ
          4. ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา
          5. หน่วยงานหรือสังกัด ของผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ขนาด 12 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา
          6. ชื่อผู้ประสานงาน ขนาด 12 พอยต์ ชนิด ตัวธรรมดา ตําแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยระบุอีเมล์ของผู้ประสานงาน
          7. บทคัดย่อ หัวข้อภาษาไทยใช้คําว่า “บทคัดย่อ" หัวข้อภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Abstract” ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวหนา ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
          8. คําสําคัญ หัวข้อภาษาไทยใช้คําว่า “คําสําคัญ" หัวข้อภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Keywords” ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวหนา ตําแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ โดยมีคําสําคัญไม่ เกิน 5 คํา เรียงคําตามลําดับความสําคัญ แต่ละคําคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา
          9. หัวข้อเรื่อง หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวหนา ตําแหน่งชิดขอบกระดาษ ด้านซ้าย หัวข้อย่อย ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อย จัดการ เยื้องย่อหน้าตามความเหมาะสม
          10. เนื้อหา ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา จัดกั้นหน้ากั้นหลัง ตลอดทั้งบทความ
          11. รูปประกอบ ต้องมีความชัดเจน โดยมีชื่อรูปแสดงที่ใต้รูป เช่น รูปที่ 1…………….............. หรือ Figure 1…………………………….หากมีการอ้างอิงให้ระบุ ที่มา.........................................
          12. ตาราง จัดพิมพ์แทรกในเนื้อเรื่อง เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด โดยมีชื่อตารางที่ เหนือตาราง เช่น ตารางที่ 1.............. หรือ Table 1.....................
          13. เอกสารอ้างอิง หัวข้อภาษาไทยใช้คําว่า “เอกสารอ้างอิง หัวข้อภาษาอังกฤษ ใช้คําว่า “References” ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวหนา ตําแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนของรายการอ้างอิง ขนาด 16 พอยต์ ชนิดตัวธรรมดา จัดกั้นหน้ากันหลัง
          14. ตัวเลข ใช้เลขอารบิค ตลอดทั้งบทความ
          15. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้เป็นแบบ (นาม, ปี) หรืออาจเขียนเป็นความเรียงได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2561 ฟ้าใส ดาวสวย ได้ทำการศึกษา......................

การส่งต้นฉบับ

ส่งเข้าระบบวารสารออนไลน์ สามารถเข้าไปได้ https://atsse.org

การยกเลิกบทความ หรือ การถอนบทความ

          การยกเลิกบทความ คือ การเพิกถอนบทความก่อนที่จะมีการตีพิมพ์เผยแพร่
          การถอนบทความ คือ การถอนบทความที่ดําเนินการตีพิมพ์และเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
          ในกรณี การยกเลิกหรือการถอนบทความ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ใน https://atsse.org และ หากมีการดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความแล้ว เจ้าของบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

องค์ประกอบของบทความ

          1. บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทความรับใช้สังคม ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง/ บทคัดย่อ (ถ้ามี) บทนํา/ เนื้อเรื่อง/ สรุป/ และเอกสารอ้างอิง
          2. บทความวิจัย ประกอบด้วย
                    1) ชื่อเรื่อง
                    2) บทคัดย่อ
                    3) คําสําคัญ
                    4) บทนํา
                    5) วิธีดําเนินการวิจัย
                    6) ผลการวิจัยและอภิปรายผล
                    7) สรุปผลการวิจัย
                    8) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
                    9) เอกสารอ้างอิง
          3. การอ้างอิง ใช้รูปแบบ APA 6 ตัวอย่างเช่น
ชื่อผู้แต่งหนังสือ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความในวารสาร. (ปีที่เขียน). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร,. ปีที่พิมพ์ (ฉบับที่), เลขหน้า. doi: (ถ้ามี)
ชื่อผู้เขียนบทความในการประชุมวิชาการ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อการประชุม, (เลขหน้า). วัน เดือน ปี สถานที่ประชุม. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความในหนังสือ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความในหนังสือ. ใน ชื่อบรรณาธิการ, ชื่อหนังสือ. (เลขหน้า). เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับของวิทยานิพนธ์ ชื่อปริญญา. เมืองที่พิมพ์:ชื่อสถาบันการศึกษา.