Loading...

อายุและระยะทางของกระจุกดาวเปิด NGC 2323

วิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2566)
การเผยแพร่
คำสำคัญ
ดาวฤกษ์, กระจุกดาวเปิด, NGC 2323
ผู้วิจัย

รุ่งสว่าง ประคำทอง
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏแพชรบุร

นันธิชา โตไพโรจน์
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏแพชรบุร

ศิริพรรณ ศรัทธาผล
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏแพชรบุร

วริษา ปานเจริญ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏแพชรบุร

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาคุณสมบัติของกระจุกดาวเปิด NGC 2323 โดยการวิเคราะห์ จากภาพถ่าย ซึ่งทำการเก็บข้อมูลภาพด้วยซีซีดีโฟโตมิเตอร์ที่ต่อเข้ากับกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้การควบคุมกล้องผ่านเว็บไซด์itelescope.net ผ่านแผ่นกรองแสงสีน้ำเงิน (B) และเหลือง(V) นำภาพถ่ายกระจุกดาวเปิดNGC 2323 ที่ได้ไปผ่านกระบวนการ กำจัดสัญญาณรบกวน จากนั้นวัดค่าความสว่างด้วยโปรแกรม IRIS และนำมาสร้างแผนภาพเฮิรตซ์ปรุง-รัสเซลล์ (H-R Diagram) ของกระจุกดาวเปิด NGC 2323 วัดค่าโชติมาตรปรากฏของดาวฤกษ์จำนวน 280 ดวง และนำ แผนภาพเฮิรตซ์ปรุง-รัสเซลล์(H-R Diagram) ที่ได้มาซ้อนทับแผนภาพเฮิรตซ์ปรุง-รัสเซลล์มาตรฐานทำการหา จุดวกกลับ เพื่อหาค่าระยะห่างจากโลกและอายุของกระจุกดาวเปิด NGC 2323 พบว่า มีระยะห่างจากโลก ประมาณ 1,000 พาร์เซค หรือ 3,262 ปีแสง และมีอายุประมาณ 132 ล้านปี

References

บุญรักษา สุนทรธรรม. (2550). ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พัชริฎา เพชรางกูร และศิริขวัญ กรกฎ. (2558). การหาอายุ ระยะทางของกระจุกดาวทรงกลม M3 กระจุกดาว เปิด M35 M44 และ M67 ด้วยเทคนิคซีซีดีโฟโตเมทรีและการศึกษาเปรียบเทียบ (รายงาน ผลการวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏร าไพพรรณี

มติพล ตั้งมติธรรม. (2556). คู่มือการศึกษาดาราศาสตร์เชิงปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

วิระภรณ์ ไหมทอง, นววรรณ บางโป่ง, เบญจภรณ์ตุ่นภักดี และสุวนิตย์ วุฒสังข์. (2560). การศึกษากระจุกดาว เปิดด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (ฉบับพิเศษ จากงานประชุม วิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 27), 20(3): 284-291.

Frolov, V. N., Ananjevskaja, Y. K. and Polyakov, E. V. (2012). Investigation of the Open Star Cluster NGC 2323 (M50) Based on the Proper Motions and Photometry of Its Constituent Stars. Astronomy Letters, 38(2): 74-86.

Hertzsprung-Russell Diagram. (2007). Retrieved from http://www.astronomynotes.com.

Jasonjot, S. K., Gregory, G. F., Harvey, B. R. and Paolo V. (2003). The CFHT Open Star Cluster Survey. IV. Two Rich, Young Open Star Clusters: NGC 2168 (M35) and NGC 2323 (M50). The Astronomical Journal, 126(3): 1402–1414.

Messier Objects. (2021). Messier 38: Starfish Cluster. Retrieved 21 March 2022, http://www.messier-objects.com/messier-38-starfish-cluster

Oralhan, I. A., Michel, R., William, J. S., Yüksel, K., Yonca, K. and Carlos, C. (2019). CCD UBV(RI )KC Photometry of NGC 2323 and NGC 2539 Open Clusters. Journal of Astrophysics and Astronomy, 40(33): 1-18.

Simbad Astronomical Database. Retrieved 21 March 2022, http://simbad.u-strasbg.fr/simbad

Suraphit, H. and Sakdawoot, M. (2016). The study of age and distance of open cluster by using H-R diagram. Astronomical Society of Japan, 68(SP1): 1-2.